วันพุธที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

power supply

ใบงานที่ 3


Power Supply
Power Supply หรือเรียกภาษาชาวบ้านว่า ตัวจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์ หน้าที่ของ Power Supply ไม่ใช้แค่เป็นตัวจ่ายไฟอย่างเดียว จริงๆแล้วหน้าที่หลังของ Power Supply คือตัวแปลงไฟล์ฟ้าจากระบบไฟฟ้าบ้านที่มีแรงไฟฟ้าที่เยอะเกินความต้องการของอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ เช่น ไฟฟ้าบ้านในไทยมีไฟฟ้าอยู่ที่ 220 โวลต์ แต่อุปกรณ์บางชนิดต้องการแค่ 3.3 โวลต์ 5 โวลต์ และ 12 โวลต์ ตามลำดับ หรือจะพูดง่ายๆคือ Power Supply เป็นตัวแปลงไฟฟ้าให้เหมาะสมกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์นั้นเอง

การพัฒนาของ Power Supply

โดย Power Supply แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ AT และ ATX ซึ้งสำหรับ AT เป็นแบบรุ่นเก่าที่มีสวิชปิดเปิดอยู่ที่ด้านหลัง Power Supply แต่มีปัญหาเวลาปิดเปิดที่สวิช เพราะบางครั้งอุปกรณ์ต้องการไฟจ่ายเลี้ยงอยู่ชั่วขณะหนึ่ง จึงพัฒนามาสู่ ATX ที่สามารถจ่ายไฟได้สม่ำเสมอกว่า โดย รุ่น ATX จะมีส่วนปิดเปิดต่อตรงเข้ากับเมนบอร์ดจึงทำให้ไฟที่ส่งเข้าอุปกรณ์ต่างๆ ที่ยังคงใช้งานอยุ่ได้รับไฟอย่างสม่ำเสมอมากกว่าแบบ AT โดยประเภท Power Supply มีรุ่นอยู่ 3 รุ่นดังนี้ ATX 2.01 แบบ PS/2 , ATX 2.03 แบบ PS/2 และ ATX 2.01 แบบ PS/3

วิธีตรวจเช็ค Power Supply

เมื่อมีอาการเปิดคอมพิวเตอร์ไม่ติด Power Supply เป็นสิ่งแรกๆที่เราควรจะตรวจเช็คว่าทำงานไหม ปกติหรือไม่ Power Supply ที่อยู่ในสภาพไม่พร้อมใช้งาน อาจจะให้อุปกรณ์อื่นๆในคอมพิวเตอร์เสียหายได้ โดยเฉพาะ Harddisk ดังนั้นการหมั่นตรวจสอบสภาพของ Power Supply อยู่เสมอ ถ้าพบว่าเสียหายควรซ่อมแซมหรือเปลี่ยนตัวใหม่
วันนี้ผมจะสอนการตรวจเช็ค Power Supply เบื้องต้น เป็น Power Supply แบบ ATX (แบบที่ใช้ในปัจจุบัน) แค่ให้รู้ว่ามันทำงานอยู่ไหม เพราะบางทีที่คอมเปิดไม่ติดเลยอาจจะเพราะขั้วต่อเข้าเมนบอร์ดหลวมก็เป็นไปได้ วิธีการตรวจสอบง่ายๆ แบบเบื้องต้นนี้จะดูแค่ว่าไฟเข้าไหม ถ้าไฟเข้าพัดลมด้านหลังจะหมุน
ขั้นตอนการตรวจเช็ค Power Supply คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
  • ถอดปลั๊กไฟ
  • เปิดฝาเคสด้านข้างออก
วิธีตรวจเช็ค Power Supply
  • ถอดขั้วคอนเน็คเตอร์ที่ต่อเข้าเมนบอร์ด (ขั้วที่มีสายไฟเยอะๆ) ออก
วิธีตรวจเช็ค Power Supply
  • มองสายไฟสีเขียวและสีดำ
  • ใช้ลวดหรือสายไฟต่อระหว่างสายไฟสีเขียวและสีดำ
วิธีตรวจเช็ค Power Supply
  • เสียบปลั๊กไฟเข้า Power Supply
  • สังเกตดูที่พัดลมว่าหมุนไหม
  • ถ้าพัดลมหมุนแสดงว่า Power Supply อาจจะยังใช้งานได้ปกติ ให้ไปตรวจเช็คการเสียบขั้วต่อหรือเมนบอร์ด
  • แต่ ถ้าพัดลมไม่หมุน แสดงว่า Power Supply ไม่ทำงานแน่นอน ซึ่งถ้าใครเป็นช่างก็ให้เช็คที่ Fuse,Bridge,Switching หรือ IC Regulator เป็นต้น
  • ส่วนคนที่ซ่อม Power Supply ก็จัดการซื้อมาเปลี่ยนได้เลย โดยดูค่าต่างๆ เช่น กำลังไฟฟ้า, แรงดัน และกระแสไฟ เป็นต้น ค่าเหล่านี้จะอยู่ที่ฉลากข้างตัว Power Supply ทุกตัว
วิธีตรวจเช็ค Power Supply
จริงๆแล้วถ้ามีมิเตอร์วัดไฟมาวัดสายไฟแต่ละเส้นได้จะดีมากค่าเหล่านี้ของสายไฟแต่ละสีคือค่าที่ควรนจะเป็น
ดำ + ดำ = 0 V
ดำ + แดง = 5 V
ดำ + ขาว = -5 V
ดำ + น้ำเงิน = -12 V
ดำ + ส้ม = 5 V
ดำ + เหลือง = 3.3 V
ดำ + น้ำตาล = 12 V

          มาต่อกันจากครั้งที่แล้ว ที่พูดถึงเรื่อง Power Supply 80Plus แต่ละแบบ แต่ละสี บทความนี้เป็นการจำแนกสีของสายแต่ละเส้น ว่ามีหน้าที่ทำอะไร จ่ายไฟกี่โวลล์ รวมไปถึงวิธีวัดไฟ เช็คประสิทธิภาพการจ่ายไฟแบบคร่าวๆ ไว้ทดสอบกันเองได้ง่ายๆที่บ้าน ซึ่งไม่ยากแล้วก็รับรองว่าปลอดภัยแน่นอนหากทำถูกวิธี แต่ก่อนอื่นนั้นเราต้องเรียนรู้ความหมายของสายแต่ละเส้นแต่ละสีกันก่อน
โดยรูปแบบ PSU ที่เราใช้ใสเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะเป็นแบบ ATX หรือชื่อเต็มๆว่า Advanced Technology eXtended ซึ่งเป็นรูปแบบของเพาเวอร์ซัพพลายที่มีมานานมากแล้ว โดยพัฒนากันมาตั้งแต่ปี 1995 จนถึงตอนนี้ก็เป็น Advanced Technology eXtended V2.4 ที่มีสายไฟหลักเป็น ATX 24Pin สำหรับจ่ายไฟให้ Mainboard แต่หลักๆเลยเราจะใช้งานกันแค่ 3 สีเท่านั้น ได้แก่ 3.3V 5V และ 12V ที่เป็นสายสี ส้ม แดง และเหลือง ตามลำดับ โดยสายสามสีนี้จะทำงานควบคู่กันกับสายไฟ "สีดำ" ที่ทำหน้าที่เป็น Ground ตามหลักการทำงานของไฟ DC หรือไฟกระแสตรง ที่ต้องมี่ + และ - จึงจะจ่ายไฟเข้าสู่อุปกรณ์ได้นั่นเองครับ (อธิบายง่ายๆแล้วกัน อันที่จริงมึนลึกกว่านี้ครับ)

PSU ทุกวันนี้ก็มีกันทั้งรุ่นที่ถอดสายได้ (จะนิยมเรียกว่า PSU แบบถอดสายได้ว่า "Modulars" )
และถอดสายไม่ได้ในรุ่นที่ต้นทุนไม่สูง มีหัว Connectors สีแตกต่างกันออกไป แต่หลักๆจะมี Connector มาให้เหมือนๆกัน
ได้แก่ ATX 24PIN , 4+4 หรือ 8Pin , 6PIN PCIe ,6+2PIN PCIe , 8 PIN PCIe , SATA , Molex และ FDD เป็นต้น

Color
  12V
  ค่า Error ไม่เกิน 10%   (11.4-12.6V)
  5V
  ค่า Error ไม่เกิน 5%   (4.75-5.25V)
  3.3V
  ค่า Error ไม่เกิน 5%   (3.135-3.465V)
  Ground
อย่างที่เกริ่นไว้ตอนต้น หลักๆระบบจะใช้สายไฟแค่ 3 สีนี้เท่านั้น ได้แก่ 3.3V 5V และ 12V ที่เป็นสายสี ส้ม แดง และเหลือง
ซึ่งทาง Plug Load Solution ได้กำหนดค่า Error ในการจ่ายไฟของแต่ละแรงดันไว้ตามตารางด้านบนครับ
ATX Connector

 ATX Main Connector (24PIN)
แผนผังการจัดวางของสายแต่ละเส้น โดยจะมีเป็นสาย สีเขียว สีน้ำเงิน เทา น้ำตาล และ ม่วง เพิ่มเข้ามา
สำหรับใช้งานเฉพาะจุด และเพื่อการตรวจเช็คของระบบ
ข้อมูลจาก : https://en.wikipedia.org/wiki/ATX
CPU Power Connector

12V สำหรับจ่ายไฟเลี้ยงให้กับ CPU โดยจะมีหลายรูปแบบมาให้ด้วยกัน ตามขนาดการจ่ายไฟของเพาเวอร์ซัพพลายรุ่นนั้นๆ
ในรุ่นเล็กๆ จะมีเป็น 4Pin มาให้เส้นเดียวสำหรับหน่วยประมวลผลที่ไม่กินไฟมากนัก และระดับกลางก็จะเป็น 4+4 หรือ 8 Pin มาให้
ส่วนรุ่นใหญ่ๆ เกิน 1000W ขึ้นไปจะมีเป็น 4+4 หรือ 8Pin มาให้มากกว่า 1 หัว
ซึ่งสายสีเหลืองเป็นไฟ 12V
และสายสีดำเป็น Com หรือ Ground นั่นเองครับ
PCI-e Power Connector

สาย PCI-E จะมี 3 รูปแบบ ได้แก่ 6PIN 6+2PIN และ 8Pin
สำหรับจ่ายไฟเลี้ยงให้กับกราฟฟิกส์การ์ด ซึ่งแต่ละรุ่นก็จะมีมาให้ในจำนวนที่ต่างกัน ตามขนาดการจ่ายไฟ และรูปแบบการจ่ายไฟ 12V
แผนผังของหัว 8PIN PCIe หลักๆจะเน้นใช้เป็นไฟ 12V
และเพิ่ม Ground มาอีก 2 เส้นเพราะจะใช้กระแสไฟมากกว่า 6PIN
ซึ่งจะขึ้นอยู่กับอัตราการกินไฟของกราฟฟิกส์การ์ดด้วย
SATA Power Connector

หัว SATA จะซับซ้อนมากกว่าหัวอื่นๆ ใช้ทั้งไฟ 12V 5V และ 3.3V เพื่อจ่ายไฟไปยังฮาร์ดดิสก์ และ SSD รวมไปถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงที่ใช้เป็นหัวแบบนี้
PIN ของหัว SATA จะละเอียดมาก
12V 5V 3.3V จำนวน 3 PIN
สลับกันกับ COM หรือ Ground
PATA Power Connector

หัว Molex หรือบางคนจะเรียกว่า PATA ซึ่งย่อมาจาก Parallel Advanced Technology Attachment
จะนิยมใช้กับ Harddisk รุ่นเก่า และอุปกรณ์บางชิ้นในปัจจุบัน จะมีไฟ 12V กับ 5V มาให้อย่างละเส้น
จะมีไฟ 12V กับ 5V มาให้อย่างละเส้น
How to : Check Voltage

สำหรับใครที่อยากวัดว่าเพาเวอร์ซัพพลายของเรา จ่ายไฟให้อุปกรณ์แต่ละชิ้นเต็มเม็ดเต็มหน่วยหรือไม่ สามารถวัดได้ทั้งบน Software และในหน้า BIOS แต่ต้องบอกก่อนว่ามันจะไม่ตรงกับความเป็นจริงครับ ที่ชัวร์ที่สุดคือวัดแบบต่อตรงขณะใช้งานจริงเลย โดยการใช้ Volt Meter ปรับเป็นการวัดไฟแบบ DC แล้วนำสายสีแดงจิ้มไปที่สายที่เป็นสีๆ ที่เราอยากจะวัด และสายสีดำต่อเข้ากับ Ground เส้นที่คู่กัน (อันที่จริง Ground เส้นไหนก็ได้) ก็จะได้ไฟออกมาแสดงผลบนหน้าจอของ Volt Meter แล้วทำการเทียบกับตารางแรกด้านบนว่าจ่ายได้ตามมาตฐานหรือเปล่า ถ้าน้อยไปหรือมากเกินไฟ แนะนำให้ส่งเคลมครับ ไม่อย่างงั้นจะพาเอาอุปกรณ์ตัวอื่นลาโลกไปก่อนวัยอันควร แต่ส่วนมากจะหมดประกันก่อนไฟดรอป เพราะเพาเวอร์ซัพพลายส่วนใหญ่ แบรนด์ดังๆ จะทำการทดสอบการจ่ายไฟก่อนออกจากโรงงานมาแล้วทุกตัวครับ อายุการใช้งานก็จะอยู่ที่ 3-5 ปีในรุ่นล่างๆ และเป็น 10 ปีในรุ่นที่กำลังกายจ่ายไฟสูงๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น